เมนู

[975] พระราชาผู้เช่นนั้นก็ฉันนั้น กรรมกิเลส
จะไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีพระราชวินิจฉัย
สะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจบริสุทธิ์
ทรงปราศจากกรรมที่เป็นบาป เหมือนดอกบัว
ที่เกิดในสระโบกขรณีทั้งหลายฉะนั้น.

จบ กุกกุชาดกที่ 1

อรรถกถาสัตตกนิบาตชาดก


อรรถกถากุกกุวรรคที่ 1



อรรถกถากุกกุชาดกที่ 1



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระราโชวาท ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ทิยฑฺฒกุกฺกุ ดังนี้. เรื่อง
ปัจจุบันจักมีแจ้งในเตสกุณชาดก.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ ผู้ถวายอรรถธรรมแด่พระองค์
พระราชาทรงดำรงอยู่ในการลุอำนาจอคติ ทรงครองราชย์โดยไม่เป็น
ธรรม รีดนาทาเร้นชนบทเก็บทรัพย์อย่างเดียว. พระโพธิสัตว์ประสงค์
จะถวายพระโอวาทพระราชา เดินพิจารณาหาอุบายข้อหนึ่งไป. อนึ่ง
ในพระราชอุทยานมีพระตำหนักประทับผิดปกติ มุงหลังคายังไม่เสร็จ

เพียงแต่ยกยอดโดมไม้ขึ้น แล้วเอาจันทันสอดพาดไว้. พระราชาเสด็จ
ไปพระราชอุทยาน เพื่อต้องการทรงกรีฑา เสด็จดำเนินไปทั่วทุกแห่ง
ในพระราชอุทยานนั้นแล้วเสด็จเข้าพระตำหนักนั้น เมื่อทอดพระเนตร
เห็นยอดโดม จึงเสด็จออกมาประทับยืนข้างนอก เพราะทรงกลัว
จะตกลงเบื้องบนพระองค์ ทรงตรวจดูอีก ทรงดำริว่า ยอดโดม
วางอยู่ได้เพราะอาศัยอะไรหนอ จันทันวางอยู่ได้เพราะอาศัยอะไร
เมื่อจะตรัสถานพระโพธิสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ยอโดมสูงศอกครึ่ง จันทันประมาณ
8 คืบ ยันยอดโดมนั้นไว้ ยอดโดมนั้นทำด้วย
ไม้แก่นไม่มีกระพี้ ทรงตัวอยู่ได้อย่าง จึง
ไม่ตกลงจากข้างบน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิยฑฺฒกุกกุ ความว่า ศอกครึ่ง.
บทว่า อุทเยน ความว่า โดยส่วนสูงกว่า. บทว่า ปริกฺขิปนฺติ
ความว่า จันทัน คือ 8 คืบ ยันยอดโดมนี้นั้นไว้ อธิบายว่า ประมาณ
8 คืบ โดยใช้ยันไว้. บทว่า กุหึ ฐิตา ความว่า เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้
ที่ไหน บทว่า น ธํสติ ความว่า ไม่ตกไป.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระราชาดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า บัดนี้เราได้
อุบายเพื่อจะถวายพระโอวาทพระราชาแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ถวาย
ว่า :-

จันทัน 30 ตัว ทำด้วยไม้แก่น ไม่มี
กระพี้เหล่าใดวางเรียงยันกันไว้ ยอดโดมที่
จันทันเหล่านั้นยึดไว้ดีแล้ว และถูกกำลัง
บีบบังคับวางขนาบไว้ จึงไม่ตกไปจากข้างบน
ฉันใด. แม้พระราชาผู้ทรงเป็นบัณฑิต ก็
ฉันนั้น ที่เหล่าองคมนตรีผู้เป็นมิตรมั่นคง มี
รูปแบบไม่แตกกัน มีความสะอาด ยึด
เหนี่ยวกันไว้ดีแล้ว ก็ไม่ทรงพลาดไปจากสิริ
เหมือนกับยอดโดมที่แบกภาระของจันทันไว้
ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา ตึสติ สารมยา ความว่า
จันทัน 30 ตัวเหล่าใดทำด้วยไม้แก่น. บทว่า ปฏิกิริย ความว่า
พยุงไว้. บทว่า สมฏฺฐิตา ความว่า วางเรียงไว้เสมอกัน. บทว่า
พลสา จ ปีฬิตา ความว่า ที่จันทันเหล่านั้น ๆ และกำลังของมันบีบ
บังคับยึดกันไว้อย่างดี คือติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ปณฺฑิโต
ได้แก่พระราชาผู้ทรงปรีชา. บทว่า สุจีหิ ความว่า อันกัลยาณมิตร
ทั้งหลาย ผู้มีความประพฤติสะอาดเสมอ. บทว่า มนฺติภิ ความว่า
ผู้ฉลาดเพราะความรู้. บทว่า โคปาณสีภารวหาว กณฺณิกา ความว่า

ยอดโดมแบกภาระจันทันทั้งหลายไว้ไม่ตกฉันใด แม้พระราชาก็ฉันนั้น
เป็นผู้ที่องค์มนตรีทั้งหลายมีประการดังนี้กล่าวแล้ว มีจิตใจไม่แตกแยก
กัน จะไม่ทรงพลาด คือไม่ตกไปได้แก่ไม่ขาดหายไปจากสิริ.
พระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดดู
พระราชกิริยาของพระองค์แล้ว จึงทรงทราบว่า เมื่อยอดโดมไม่มี จันทัน
ทั้งหลายก็วางอยู่ไม่ได้. ยอดโดมที่จันทันไม่ยึดรั้งไว้ก็ตั้งอยู่ไม่ได้. เมื่อ
จันทันแยกกันยอดโดมก็หล่นฉันใด พระราชาผู้ไม่ทรงธรรมก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อไม่ทรงยึดเหนี่ยวใจมิตรอำมาตย์ กำลังพลของตนและ
พราหมณ์คหบดีทั้งหลายไว้ เมื่อคนเหล่านั้นแตกแยกกัน ไม่พากัน
ยึดเหนี่ยวพระทัยพระองค์ไว้ก็จะเสื่อมจากอิสริยยศ ธรรมดาพระราชา
ควรจะเป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้. จึงในขณะนั้น คนทั้งหลายได้นำผลมะงั่ว
มา เพื่อต้อนการเป็นบรรณาการทูลเกล้าถวายพระองค์. พระราชา
จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า สหายเอ๋ย เชิญรับประทานผลมะงั่วนี้เถิด.
พระโพธิสัตว์รับเอาผลมะงั่วนั้นแล้ว เมื่อทูลแสดงอุบายรวบรวมทรัพย์
คือการเก็บภาษีถวายพระราชาด้วยอุปมานี้ว่า ข้าแต่มหาราช คนทั้งหลาย
ไม่รู้การกินผลมะงั่วนี้จะทำให้มีแต่รสขม ส่วนผู้ฉลาดรู้รสเปรี้ยวนำแต่
รสขมออกไป ไม่นำรสเปรี้ยวออก ไม่ให้รสมะงั่วเสีย ภายหลังจึงรับ
ประทานดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา 2 คาถาความว่า :-
ผู้มีมีด แม้เมื่อไม่ปอกเปลือกผลมะงั่วที่

มีเปลือกแข็งออกจะทำให้มีรสขม ข้าแต่
พระราชา บุคคลเมื่อปอกเปลือกเป็น จะทำ
ให้มีรสอร่อย เมื่อปอกแต่เปลือกบาง ๆ ออก
คงทำให้รสไม่อร่อยฉันใด. ฝ่ายพระราชา
ผู้ทรงพระปรีชา ก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัดเก็บ
ทรัพย์ที่ควรตำหนิ คือขูดรีดภาษี ควรทรง
ปฏิบัติคล้อยตามธรรมะ ทำความสุขสำราญ
แก่ราษฎร ไม่ทรงเบียดเบียนผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขรตฺตจํ ได้แก่มีเปลือกแข็ง. บทว่า
เพลฺลํ ได้แก่ผลมะงั่ว. ปาฐะว่า พาลํ ก็มี. ความหมายก็เป็นอย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า สตฺถวา ความว่า ผู้มีศัสตราเล็ก คือมีดในมือ.
บทว่า อโนมสนฺโต ความว่า เมื่อปอกเปลือกเป็น คือเมื่อเฉือน
เปลือกนอกออกและไม่นำรสเปรี้ยวออกไปทำให้รสอร่อย. พระโพธิสัตว์
เรียกพระราชาว่า ปตฺถวา. บทว่า ตนุพนฺธมุทฺธรํ ความว่า แต่ว่า
ปอกแต่เปลือกบาง ๆ ออกไป คงทำให้ผลมะงั่วนั้นอร่อยไม่ได้เลย เพราะ
ไม่ได้นำรสขมออกไปให้หมดสิ้น. บทว่า เอวํ ความว่า ฝ่ายพระราชา
ผู้ทรงพระปรีชาพระองค์นั้นก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัด คือไม่ลุอำนาจตัณหา
ที่ผลุนผลัน ทรงละการลุอำนาจอคติ ไม่ทรงเบียดเบียนราษฎร ทรง

เก็บเงินภาษีโดยทำนองปลวกทั้งหลายพัฒนา คือก่อจอมปลวก และ
โดยทำนองผึ้งทั้งหลายที่เคล้าเอาเกษรมาทำน้ำผึ้ง เป็นผู้ทรงคล้อยตาม
ธรรมะปฏิบัติอยู่โดยการคล้อยตามราชธรรม 10 ประการเหล่านี้ คือ :-
ทาน 1 ศีล 1 การบริจาค 1 ความ
ซื่อตรง 1 ความอ่อนโยน 1 ความเคร่งครัด 1
ความไม่โกรธ 1 ความไม่เบียดเบียน 1
ความอดทน 1 ความไม่ผิด 1.

ควรทรงทำความสำราญ คือความเจริญให้ตนเองและผู้อื่น
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเลย.
พระราชาทรงปรึกษากับพระโพธิสัตว์ไปพลาง เสด็จดำเนินไป
พลางถึงฝั่งสระโบกขรณี ทอดพระเนตรเห็นดอกบัวที่บานงามอยู่ในสระ
นั้น แต่ไม่เปียกน้ำมีสีเหมือนแสงพระอาทิตย์อ่อน ๆ จึงตรัสว่า สหาย
ดอกบัวนี้เกิดในน้ำนั่นแหละ แต่อยู่ได้ไม่เปียกน้ำ. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์ เมื่อทูลโอวาทพระราชานั้นว่า ถึงพระราชาก็ควรเป็น
แบบนี้เหมือนกัน จึงได้ทูลคาถาว่า :-
ดอกบัวหลวงมีเง่าขาว ผุดขึ้นจากน้ำที่
สะอาด เกิดในสระโบกขรณี บานเพราะ
พระอาทิตย์ มีแสงเหมือนแสงไฟ โคลนตม

ก็ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียกมัน
ฉันใด. พระราชาผู้เช่นนั้น ก็ฉันนั้น กรรม
กิเลสจะไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีพระราช
วินิจฉัยสะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจ
บริสุทธิ์ ทรงปราศจากกรรมที่เป็นบาป เหมือน
ดอกบัวที่เกิดในสระโบกขรณีทั้งหลายฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทาตมูลํ ได้แก่มีเง่าขาว. คำว่า
อัมพุช เป็นไวพจน์ของดอกบัวนั่นเอง. บทว่า อคฺคินิภาสิผาลิมํ
ความว่า บานแล้ว อธิบายว่า แย้มบานแล้ว เพราะพระอาทิตย์มีแสง
เหมือนแสงไฟ. บทว่า น กทโม น รโช น วาริ ลิปฺปติ ความว่า
โคลนตม ก็ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียก อธิบายว่า ไม่
เปรอะเปื้อน. ปาฐะ บาลีว่า ลิมปติ ก็มี. อึกอย่างหนึ่ง บทเหล่านั้น
เป็นปฐมาวิภัติใช้ในความหมายสัตมีวิภัติ. ความหมายก็ว่า ไม่แปดเปื้อน
คือไม่ผิดอยู่ในโคลนตมเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า โวหารสุจึ ความว่า
ทรงเป็นผู้สะอาดในเพราะการทรงตัดสินคดีตามกฏหมาย ที่พระราชา
ทั้งหลายผู้ทรงธรรมเก่าก่อนทรงตราไว้ อธิบายว่า ผู้ทรงละการลุอำนาจ
อคติทำการวินิจฉัยโดยธรรม. บทว่า อสาหสํ ความว่า ชื่อว่าทรง
เว้นจากพระราชกิริยาที่หุนหันพลันแล่น เพราะเหตุที่ทรงดำรงอยู่ใน
พระราชวินิจฉัยที่ชอบธรรมนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธกมฺมํ ความว่า

ชื่อว่า ทรงมีพระราชกิจบริสุทธิ์ คือมีปกติตรัสคำจริง ได้แก่ไม่ทรง
พิโรธ มายความว่า ทรงเป็นกลาง เท่ากับว่าทรงเป็นเหมือนตราชู
เพราะเหตุที่พระองค์ไม่ทรงผลุนผลันนั้นนั่นเอง บทว่า อเปตปาปกํ
ได้แก่ทรงปราศจากบาปกรรม. บทว่า น ลิมฺปติ กมฺมกิเลส ความว่า
กรรมกิเลสนี้ คือ ปาณาติบาต 1 อทินนาทาน 1 กาเมสุมิจฉาจาร 1
มุสาวาท 1 ไม่ติดเปื้อนพระวาชานั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะพระราชา
ผู้เช่นนั้นก็เหมือนดอกบัวที่เกิดแล้วในสระโบกขรณี. อธิบายว่า ข้าแต่
มหาราช พระราชาผู้เช่นนั้นทรงเป็นผู้ชื่อว่าอันอะไรไม่เปื้อนเปรอะ
แล้ว เหมือนดอกปทุมที่เกิดแล้วในสระโบกขรณี อันอะไรไม่เปื้อน
เปรอะแล้ว.
พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว จำเดิม
แต่นั้นมา ก็ทรงครองราชย์โดยธรรม ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทาน
เป็นต้น แล้วได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรงประชุม
ชาดกไว้ว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์
ผู้เป็นบัณฑิต คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุกกุชาดกที่ 1

2. มโนชชาดก



ว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน



[976] เพราะเหตุที่ธนูโก่ง และสายธนูสะบัด
ฉะนั้น มโนชะมฤคราชสหายของเรา ถูกฆ่า
แน่นอน.
[977] ช่างเถอะ เราจะหลีกเข้าป่าที่เร้นลับไป
ตามสบาย เพื่อนเช่นนี้จะไม่มี เรายังมีชีวิต
อยู่คงได้เพื่อนอีก.
[978] ผู้คบหาคนเลวตามปกติ จะไม่ประสบ
ความสุขโดยส่วนเดียว จงดูมโนชะผู้นอนอยู่
เถิด ผู้เชื่อฟังอนุสาสนีของสุนัขจิ้งจอกชื่อ
คิริยะ.
[979] แม่จะไม่บันเทิงใจ เพราะลูกมีเพื่อนที่
เลวทราม จงดูมโนชะผู้นอนจมกองเลือดของ
ตนอยู่เถิด.
[980] คนผู้ที่ไม่ทำตามถ้อยคำของผู้เกื้อกูล ผู้ชี้
ประโยชน์ให้ จะประสบอย่างนี้ และจะพบ